ความอันตรายของสารปนเปื้อนในอาหาร

ช่วงวลาที่ผ่านมา เรามักจะได้เห็นกระแสที่รุนแรงในโลกโซเชียล เกี่ยวกับการนำเอาน้ำแข็งเก่ากลับมาใช้ใหม่ โดยที่เป็นที่ถกเถียงกันยกใหญ่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันก็คือว่าการทำอย่างนั้นจะส่งผลอันตรายต่อรางกายมากน้องขนาดไหน มีความรุนแรงมากขนาดไหน

เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงความอันตรายของสารปนเปื้อนในอาหารกัน และจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยออกมาเกี่ยวกับสารปกเปื้อนในอาหาร ถือว่าเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ที่อยู่ภายในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยที่ผ่านมาเรามักจะได้เห็นอาหารที่ไม่สะอาด ได้นำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นได้

การปนเปื้อนภายในอาหาร สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

1.การปนเปื้อนทางเคมี : การปนเปื้อนทางเคมีจะเกิดขึ้นมาจากการใช้สารเคมี ที่อยู่ในขั้นตอนการผลิต ยกตัวอย่างเช่น การใช้สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน เป็นต้น

2.การปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ : สำหรับการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์จะเป็นการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นจากสุขลักษณะการผลิต ที่ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐานในการผลิตอย่างถูกต้อง

3.การปนเปื้อนทางการภาพ : สำหรับการปนเปื้อนทางกายภาพ ถือว่าเป็นรูปแบบการปนเปื้อนที่มักจะพบเจอมกที่สุด โดยที่จะเป็นการปนเปื้อนที่เกิดขึ้นมาจากสิ่งแปลกปลอมที่เจือปนเข้ามา ยกตัวอย่างเช่น เส้นผลที่ปนเข้ามาในอาหาร เป็นต้น

อย่าเช่นการนำเอาน้ำแข็งเก่า กลับมาใช้ใหม่ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีขั้นตอนในการทำความสะอาดที่ถูกต้อง รวมไปถึงการนำเอาหลอดดูดน้ำมาใช้ซ้ำหลาย ๆ รอบ เพราะอาจจะมีโอกาสปนเปื้อนในอาหารได้ทั้งทางจุลินทรีย์ และทางกายภาพ โดยตรง

ทั้งนี้กับคำถามที่ว่า ความอันตรายที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของอาหารนั้น จะอยู่ในระดับความอันตรายระดับไหน

สำหรับขั้นตอนในการใช้สารเคมี อย่างเช่น สารฟอร์มาลีน หรือสารดองศพที่หลายคนรู้จักกัน ซึ่งถ้าหากไม่ได้ศึกษาข้อมูลของสารดังกล่าวอย่างละเอียด อาจจะคิดว่าสารนี้ฟังดูน่ากลัว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า จริง แล้วฟอร์มาลีนก็สามารถพบได้ตามธรรมชาติเช่นเดียวกัน อย่างเช่น ในเห็ดหอมที่พบว่ามีฟอร์มาลีนอยู่จำนวนไม่น้อย ที่การรับประทานเห็นหอมในครั้งแรก อาจจะยังไม่ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงโดยตรง หรือไม่ได้ส่งผลเฉียบพลัน แต่อันตรายจากการปนเปื้อนในอาหารทางเคมีจะมาจากการสะสมของสารพิษ ซึ่งจะส่งผลเสียในภายหลัง เช่น การทานอาหารที่ปนเปื้อนสารบอแรกซ์มาก ๆ อาจทำให้เกิดโรคไตวาย เป็นต้นวิธีหลีกเลี่ยงคืออย่าทานอาหารเดิม ๆ ซ้ำซากจำเจ แต่ควรทานให้หลากหลาย จะช่วยลดการสะสมสารพิษได้

สำหรับขั้นตอนของการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ จะส่งผลโดยตรงที่จะทำให้ร่างกายเกิดโรคอุจจาระร่วงได้ ซึ่งบางครั้งการได้รับสารปนเปื้อนในรูปแบบดังกล่าวในบางคนก็สามารถที่จะพบเจอกับโรคอื่น ๆ ตามมาได้ด้วยเช่นกัน

สำหรับขั้นตอนการปนเปื้อนทางกายภาพ หนึ่งในการพบเจอในชีวิตประจำวันมากที่สุ และมีโอกาสพบเจอได้มากที่สุด ซึ่งจัดว่าไม่น่ากลัว เพียงแต่จะได้ของแถมมาในอาหาร ซึ่งก็ถือว่าเป็นการทานที่ไม่ถูกสุขลักษณะเท่าที่ควร