โรคไหลตาย เกิดจากอะไร สามารถป้องกันรักษาได้หรือไม่?

หากพูดถึง โรคไหลตาย ในอดีตที่ผ่านมาทางภาคอีสานมักจะมีความเชื่อกันว่ามี ผีแม่หม้ายมาเอาตัวไป เพราะส่วนใหญ่มักจะเกิดกับชายหนุ่มที่มีความแข็งแรง มีสุขภาพดีไม่น่าจะเป็นอะไรง่าย แต่เมื่อเข้านอนหลับพักผ่อนตอนกลางคืนก็กลับพบว่าเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคไหลตาย จริง ๆ แล้วคืออะไร

โรคนี้จริง ๆ แล้วเกิดจากกลุ่มอาการ Brugada Syndrome เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจ หรือโครงสร้างหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง และไม่บีบเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ จึงทำให้เสียชีวิตขณะนอนหลับ

โดยโรคนี้พบได้น้อยมากคือประมาณ 0.004% เท่านั้น และผู้ป่วย Brugada Syndrome ในประเทศไทยจากสถิติพบว่ามีประมาณ 40 คน จากจำนวนประชากร 100,000 คน ซึ่งจะพบมากในภาคอีสาน ผู้ชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิง มักจะเป็นในผู้ชายที่มีอายุอยู่ในช่วง 20 – 50 ปี

ปัจจัยสำคัญของการเกิด โรคไหลตาย

  • เคยมีประวัติคนในครอบครัวเสียชีวิตเฉียบพลันตั้งแต่อายุน้อย
  • เคยหน้ามืดหมดสติโดยไม่มีสาเหตุ

อาการที่สามารถพบได้ของ โรคไหลตาย

ถึงแม้โรคนี้จะเสียชีวิตขณะนอนหลับโดยไม่มีอาการใด ๆ มาก่อนแต่ก็มีผู้ป่วยที่รู้สึกผิดปกติแล้วไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์ก็ได้วินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นโรคไหลตาย โดยอาการก็มีดังนี้

  • รู้สึกใจสั่น
  • วูบ เป็นลม หมดสติไปชั่วขณะ
  • มีอาการเวียนศีรษะ
  • ชัก
  • หายใจลำบาก ติดขัด
  • รู้สึกเจ็บหน้าอก
  • ถูกตรวจพบว่าหัวใจบ้างห้องเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง
  • เมื่ออาการกำเริบตอนที่หลับอาจมีเสียงหายใจครืดคราดคล้ายละเมอ

สิ่งที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะผู้เป็น โรคไหลตาย

หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไหลตาย ก็ควรหลีกเลี่ยงการที่จะทำให้หัวใจใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงซึ่งปัจจัย ได้แก่

  • การมีไข้สูง
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ร่างกายขาดน้ำ ขาดแร่ธาตุ
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ หรือยาที่มีผลต่อแร่ธาตุในร่างกาย

วิธีรักษา โรคไหลตาย

ถึงแม้จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่โดยส่วนใหญ่แพทย์จะใช้วิธีลดความเสี่ยง เช่น การฝังเครื่องกระตุกหัวใจ การใช้เครื่องซ๊อตไฟฟ้าหัวใจ ใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

ถึงแม้ โรคไหลตาย จะพบได้น้อยแต่ก็ไม่ควรละเลย หากพบว่ามีอาการต่าง ๆ ที่น่าสงสัยอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว ควรรับไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ประเมินความเสี่ยงเพื่อเข้ารับรักษาที่เหมาะสมต่อไป