4 ความเชื่อเกี่ยวกับการปวดหัว จริงหรือเท็จมีคำตอบให้

อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป แม้ส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย และสามารถหายเองได้จากการกินยาหรือพักสักระยะ บางคนวินิจฉัยโรคเองจากความรู้ จากความเชื่อที่บอกต่อกัน จริงเท็จแค่ไหนเรามีคำตอบให้

ปวดหัว

ความเชื่อ ตำแหน่งปวดหัวบอกโรค

มีความเชื่อที่แชร์ต่อ ๆ กันมาว่าตำแหน่งของการปวดหัวสามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไรอยู่ ความเชื่อเหล่านี้จริงหรือไม่

1.ความเชื่อที่ว่า : ปวดหัวข้างเดียวเป็นไมเกรน

ความเชื่อนี้ไม่จริง ปวดไมเกรนมีลักษณะจำเพาะหลายอย่าง การปวดหัวข้างเดียวเป็นเพียงหนึ่งในอาการของไมเกรนเท่านั้น แต่คนไข้ยังต้องมีอาการอื่นๆ ตัด อีกถึงจะเรียกได้ว่าเป็นโรคไมเกรนจริง ๆ โรคนี้ส่วนใหญ่พบในวัยนักศึกษา วัยทำงาน แต่หากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แล้วไม่เคยปวดหัวมาก่อนมักไม่ใช่อาการของไมเกรน

ลักษณะของการปวดหัวไมเกรน
  • ปวดหัวตุ้บ ๆ เหมือนเส้นเลือดกำลังเต้นอยู่บนศีรษะ
  • ปวดหัวข้างเดียว อาจสลับข้างได้หรือปวดหัวทั้ง 2 ข้างได้
  • มีอาการปวดหัวอยู่ระยะเวลาหนึ่ง เช่น ปวดเป็นชั่วโมง และปวดรุนแรงถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีอาการแพ้แสง แพ้เสียง เมื่อเจอแสงจ้า เสียงดัง ๆ หรือได้กลิ่นฉุน เช่น น้ำหอม ควัน จะปวดหัวมากขึ้น

2.ความเชื่อที่ว่า : ปวดตรงโหนกแก้ม กลางใบหน้า เป็นไซนัสอักเสบ

ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวดตรงโหนกแก้มหรือปวดตรงใบหน้าเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนไข้ไซนัสอักเสบบางราย แต่การปวดบริเวณนี้ยังเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น การปวดจากเส้นประสาทคู่ที่ 5

3.ความเชื่อที่ว่า : ปวดหัว ปวดหู แถมปวดกราม เป็นโรคข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ความเชื่อนี้ไม่จริง อาการปวด 3 อย่างนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น ปวดหู อาจเป็นหูชั้นกลางหรือหูชั้นนอกอักเสบ หากปวดกรามอาจเกิดจากการกัดฟันตอนนอน แล้วส่งผลให้ปวดตอนกลางวัน อาการเหล่านี้เป็นโรคใกล้ตัวที่พบได้บ่อย ซึ่งหลายคนมองข้ามไป

อาการ ปวดหัว เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป แต่หากปวดหัวบ่อยและรุนแรง หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

4.ความเชื่อที่ว่า : ปวดหัวรุนแรง ฉับพลัน เป็นโรคอันตรายทางสมอง

ความเชื่อนี้ไม่จริง เพราะหากเป็นอาการปวดหัวที่บ่งบอกถึงโรคทางสมอง คนไข้จะต้องมีอาการอื่นด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ซึม อ่อนแรง

ความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับการปวดหัวนั้น ไม่จริง แต่ก็อาจไม่ผิดเสียทั้งหมด ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการปวดหัวคะ